เมนู

ทุกมูลกะ ทวิมูลี - น กามธาตุ - น รูปธาตุมูละ น กามธาตุ - น
รูปธาตุมูลี

:-
เมื่อบุคคลจุติจากภูมิที่ไม่ใช่กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ การเข้าถึง
ภูมิที่ไม่ใช่กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ ย่อมไม่มี บุคคลนั้นเมื่อเกิดใน
เบื้องต่ำ ย่อมเข้าถึงกามธาตุนั้น มีอนุสัย 7 เท่านั้น นอนเนื่อง
อนุสัยที่ดับไป ย่อมไม่มี.

น กามธาตุ - น รูปธาตุมูละ น รูปธาตุ น อรูปธาตุมูลี

:-
เมื่อบุคคลจุติจากภูมิที่ไม่ใช่กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ เข้าถึงภูมิ
ที่ไม่ใช่รูปธาตุ ไม่ใช่อรูปธาตุ มีอนุสัย 7 เท่านั้น นอนเนื่อง อนุสัย
ที่ดับไป ย่อมไม่มี.

น กามธาตุ น รูปธาตุมูละ น กามธาตุ น รูปธาตุมูลี

:-
เมื่อบุคคลจุติจากภูมิที่ไม่ใช่กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ เข้าถึงภูมิที่
ไม่ใช่กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ บางคนมีอนุสัย 7 นอนเนื่อง บางคนมี
อนุสัย 5 นอนเนื่อง บางคนมีอนุสัย 3 นอนเนื่อง อนุสัยที่ดับไป
ย่อมไม่มี.
ธาตุวาระ จบ
อนุสยยมก ที่ 7 จบ

อรรถกถา


อนุสยยมก


บัดนี้ เป็นการวรรณนาเนื้อความแห่งอนุสยยมกเหมือนที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวมเอกเทศแห่งกุศลธรรมเป็นต้นทรงแสดงไว้
ในมูลยมกนั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งการหยั่งเห็นได้แล้วทรงแสดง
ไว้ในลำดับแห่งสังขารยมก. บัณฑิตพึงทราบการกำหนดบาลี ในอนุสย-
ยมกก่อน เพราะว่า ในอนุสยยมกนี้พระองค์ทรงทำบาลีเทศนาไว้อีก
อย่างหนึ่ง ไม่เหมือนทำเทศนาในขันธยมก เป็นต้น.
ถามว่า ทำเทศนาอย่างไร ?
ตอบว่า ในเบื้องต้นทำเทศนาแสดงไว้ 3 วาระ คือ ปริจเฉท-
วาระ วาระว่าด้วยการกำหนด, ปริจฉินนุทเทสวาระ วาระว่าด้วย
อุทเทสที่กำหนดไว้แล้ว, อุปปัตติฏฐานวาระ วาระว่าด้วยที่เป็นที่เกิดขึ้น
ก่อน, เพื่อจะให้ศึกษาอนุสัยทั้งหลาย โดยอาการ 3 อย่าง คือ โดย
ปริจเฉท โดยอุทเทส และโดยอุปปัตติฏฐาน ต่อจากนั้นก็ทรงประกอบ
อนุสัยทั้งหลายทำยมกเทศนา ด้วยอำนาจแห่งมหาวาระ 7.
ในอนุสยยมกนั้น คำว่า " สตฺต อนุสยา " นี้ ชื่อว่า
ปริจเฉทวาระ เพราะความที่อนุสัยทั้งหลาย พระองค์กำหนดจำนวน
แสดงไว้ว่า " อนุสัยนี้ มี 7 เท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ ไม่ต่ำกว่านี้ "
ดังนี้.